เศรษฐกิจพอเพียง
1.เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
2.หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
3.การดำเนินชีวิตของเราที่แสดงออกถึงการนำพระราชดำรัสมาใช้
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ 29 ตุลาคม 2517
การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้นั้นเราจำเป็นจะต้องมีความสามัคคีกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกันนั้นจะต้องมีความสามัคคีร่วมมือกันถึงจะทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จได้ ถึงแม้ว่าความคิดของเรากับผู้อื่นนั้นขัดแย้งกันแต่เราต้องใช้สติปัญญาในการคิดไตร่ตรองร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องยึดถือความคิดของตนเองเป็นหลักเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานต่างๆ งานกลุ่ม งานเพื่อชุมชน หรือการมีจิตอาสาเราล้วนต้องใช้ความสามัคคีในการทำสิ่งเหล่านั้นให้งานสำเร็จลุล่วงด้วยดี
2.“…..การทำงานด้วยใจรักนั้น ต้องหวังผลงานเป็นสำคัญแม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้น จะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง ที่พูดเช่นนี้เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ…การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงคนโดยมากไม่ชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองช้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้…”
พระบรมราโชวาทในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 กรกฎาคม 2506
การทำงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานภายในบ้าน หรืองานอื่นที่เราได้รับมอบหมายให้ทำจะสำเร็จได้นั้นเราต้องมีความเอาใจใส่และตั้งใจทำงานนั้นให้เต็มที่ ถึงแม้ว่าบางครั้งผลงานของเราอาจจะไม่ดีเท่าที่ควรหรือคนอื่นจะมองว่าไม่ดีพอ เราไม่จำเป็นต้องไม่พอใจเพราะเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว ถึงไม่มีใครรู้ในสิ่งที่เราได้ตั้งใจทำแต่เรารู้ตัวเองดีที่สุดว่าเราได้ทำด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถของเราแล้ว
3.“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502
การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เราต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้ในสิ่งที่มีความจำเป็นจริงๆ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเห็นว่าอะไรดีก็ซื้อมาทั้งที่บางครั้งสิ่งนั้นเราไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ควรอดออมเงินไว้ใช้ในสิ่งที่จำเป็นเผื่อถ้าในอนาคตเราไม่มีเงินเราสามารถนำเงินที่อดออมไว้นี้มาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวทั้งนี้การมีเงินออมเป็นของตนเองยังเป็นผลดีกับตัวเราเองและคนในครอบครัวอีกด้วย
ที่มา: http://www.thaimonarch.org/?p=429
http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html
http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html
http://rungtipmh.blogspot.com